กรุงเทพฯ – ในปี 2543 ราว 3% ของประชากรจีนเท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลาง ต่อมาในปี 2561 ประชากรจีนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศหรือประมาณ 700 ล้านคน ได้ก้าวเข้าสู่กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง และคาดว่าภายในปี 2576 สัดส่วนประชากรชาวจีนกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน จะมีเงินเพียงพอเพื่อใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศได้มากขึ้น
เช่นเดียวกับประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ
1 ของโลก ด้วยประชากรมากกว่า 1.4
พันล้านคน โดยมีสัดส่วนชนชั้นกลาง คิดเป็นสัดส่วน 31%
ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 38% ภายในปี 2574
อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2576
จำนวนครอบครัวชาวอินเดียมากกว่า 3 เท่า จะมีกำลังซื้อมากพอในการเดินทางระหว่างประเทศได้
เมื่อเทียบกับปัจจุบัน ถามว่าพวกเราอาจจะประเมินผลกระทบเชิงบวกของนักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดียที่มีต่อการจองที่พักในอีก
10 ปีข้างหน้าน้อยไปหรือไม่? หากประเมินจากอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรความต้องการในการเดินทาง
รวมถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมแล้ว
ผมตอบได้เลยว่าเป็นไปได้
ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทย
ที่เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้ร่วมลงนามข้อตกลงยกเลิกการขอวีซ่าถาวรสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงสร้างความน่าดึงดูดต่อนักท่องเที่ยวจีน
โดยภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการประกาศข้อตกลงยกเว้นวีซ่าถาวรดังกล่าว ผู้ให้บริการจองที่พักและบริการการท่องเที่ยวออนไลน์ของจีนอย่าง
Trip.com พบว่ามียอดการค้นหา
คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ “ประเทศไทย” บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ยังคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนจำนวนถึง 8 ล้านรายเดินทางมาประเทศไทยในปีนี้
ภายหลังจากการประกาศดังกล่าว
เช่นเดียวกันกับช่วงเดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา
ที่รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายยกเว้นวีซ่าชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย
เว็บไซต์ท่องเที่ยวและจองที่พักอย่าง อโกด้า (Agoda) รายงานว่ามียอดการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ “ประเทศไทย” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย
ซึ่งตอกย้ำความสำคัญของประเทศอินเดียในฐานะหนึ่งในตลาดนักท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย
นอกจากผลประโยชน์ระยะสั้นที่เกิดขึ้นการวิเคราะห์เชิงลึกยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสอีกมากมายที่ทั้งสองประเทศจะมอบให้
ไม่เพียงต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ให้บริการที่พักทั่วโลกอีกด้วย
รายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมากกว่า 10,000 คนทั่วโลก โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและอินเดียถึง 1,600 คน พบว่า 77% ของนักเดินทางชาวจีน และ 78% ของนักเดินทางชาวอินเดีย มี ‘แนวโน้ม’ หรือ ‘มีโอกาสมาก’
ที่จะท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า เมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 57%
แม้ว่าสถิติดังกล่าวจะชี้ไปที่ตัวเลขเช็คอินที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของนักเดินทางเหล่านี้ที่เราพบ จะยิ่งเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงผลกระทบเชิงบวกที่แท้จริงในอนาคตได้
เจาะลึกอิทธิพลของนักเดินทางชาวจีนและอินเดียที่คาดว่าจะส่งต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวแน่นอนว่านักท่องเที่ยวทุกคนล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือวัฒนธรรม ซึ่งรายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder มีจุดมุ่งหมายที่จะระบุพฤติกรรมหลักๆ ของนักท่องเที่ยวที่มีความคล้ายคลึงกันจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการที่พักสามารถให้บริการแขกได้ดียิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
มีแนวทางปรับตัวสำคัญ 5 ประการที่นักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดียมีแนวโน้มที่จะผลักดันอุตสาหกรรมให้พัฒนาไปในชิงบวกในอีก
10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตัวเลขนักท่องเที่ยวจากประเทศทั้งสองเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ ซึ่งแนวทางเหล่านี้ นับเป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมใช้ในการพิจารณาเพื่อวางกลยุทธ์รับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต
1. การเติบโตทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว
จะยิ่งเร่งให้ธุรกิจที่พักมีการปรับใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
รายงานของ SiteMinder เผยว่านักเดินทางชาวจากทั้งจีนและอินเดียจัดอยู่ในแถวหน้าของการใช้เทคโนโลยีทั่วโลก
อันจะเห็นได้จาก นักท่องเที่ยวชาวจีนมองว่าการมีแชทบอทบนเว็บไซต์ของสถานที่พักเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ซึ่งความต้องการนี้เพิ่มขึ้นถึง 150% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวอินเดียก็มองว่าการเข้าถึงและใช้งานเว็บไซต์ของที่พักบนโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกเป็นเรื่องสำคัญ
โดยนักท่องเที่ยวชาวจีน(88%) และนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย (84%)
มี ‘แนวโน้ม’ หรือ ‘มีโอกาสมาก’ ที่จะใช้ AI ในการแนะนำสถานที่พัก
(เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 52%) นอกจากนี้
นักท่องเที่ยวชาวจีน (92%) และนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย (87%) เปิดกว้างกับการนำ AR และ VR มาใช้ในการสำรวจที่พักหรือการสร้างประสบการณ์ใหม่ระหว่างการเข้าพัก
(เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 67%)
ที่สำคัญนักท่องเที่ยวจากทั้งสองประเทศต้องการประสบการที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นบนช่องทางออนไลน์ หรือเมื่อไปถึงสถานที่พัก โดยในทั้งสองกรณี
นักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดีย ประมาณ 50% ต้องการให้ที่พักติดต่อสื่อสารกับพวกเขาผ่านอุปกรณ์เมื่ออยู่ที่ที่พัก
และมากกว่า 9 ใน 10 มองว่าการจองที่พักและประสบการณ์การพักผ่อนของพวกเขาจะดีมากยิ่งขึ้นได้
หากธุรกิจที่พักมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากยิ่งขึ้น
2. แนวโน้มการเลิกจองระหว่างทางบนเว็บไซต์จะกดดันให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนกันมากขึ้น
นักท่องเที่ยวชาวอินเดียเกือบ 70% มีแน้วโน้มมากที่สุดในโลกที่จะไม่ดำเนินการจองที่พักต่อหากพบเจอประสบการณ์ดิจิทัลที่ไม่ดี
และนักท่องเที่ยวชาวจีนประมาณ 50% ที่จะไม่ดำเนินการจองที่พักต่อเช่นกัน
หากพบเจอเว็บไซต์ที่ประเมินผลช้า รวมถึงเว็บไซต์ที่ดูไม่ปลอดภัย
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้นับเป็นข้อกังวลสำคัญที่นักท่องเที่ยวจากทั้งสองประเทศคำนึงถึง
3. การเปิดรับต่อบริการเสริมของนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น
จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมองหาเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มรายได้
นักท่องเที่ยวชาวจีน (52%) และนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย (51%) ต้องการได้รับบริการที่ปรับให้ตรงกับความต้องการส่วนบุคคลมากกว่าเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น
ๆ ทั่วโลก โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนมีแนวโน้มที่จะจองบริการรับส่งสนามบินมากที่สุด ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวอินเดียมีแนวโน้มที่จะจองบริการสปาทรีตเมนต์มากที่สุด
โดยนักท่องเที่ยวมากกว่า 90% จากทั้งสองประเทศยินดีที่จะจ่ายบริการเสริมในการเข้าพักครั้งถัดไป
ที่นอกเหนือจากค่าห้องพัก
4. แนวโนมที่จะทํางานในการเดินทางครั้งถัดไป
ช่วยให้มั่นใจว่าแผนเดินทางแบบ Bleisure ยังคงมีความสำคัญ
นักเดินทางชาวจีนและอินเดียส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโนมที่จะทํางานในการเดินทางครั้งถัดไป
แม้ว่าการเดินทางแบบ Bleisure จะลดลงทั่วโลกเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนก็ตาม
นักเดินทางชาวอินเดียถึง 60%วางแผนที่จะทำงานระหว่างการเข้าพักครั้งต่อไป
ซึ่งนับว่าสูงที่สุดและสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 24% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนเกือบ
50% ตั้งใจที่จะทำงานในระหว่างการเดินทางครั้งต่อไปด้วยเช่นกัน
5. ความต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ระหว่างการเข้าพักจะผลักดันให้ที่พักเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญมากขึ้น
สุดท้ายนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์แปลกใหม่ระหว่างการเข้าพักเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดีย
มากกว่านักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนประมาณครึ่งหนึ่งเลือกที่จะกลับมาใหม่หากที่พักมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงสองเท่า และเมื่อนักท่องเที่ยวต้องการประสบการณ์การเข้าพักที่
“แตกต่าง” มากขึ้น “เรื่องของราคา”
ของสถานที่พักก็จะมีความหมายน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทุกปี โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดียถึง
2 ใน 3 กล่าวว่า “ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม” (เช่น อาหารและเครื่องดื่ม
สปา หรือการจัดงาน) ปัจจุบันมีความสำคัญมากกว่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวอินเดียวางแผนที่จะใช้เวลาในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่น
ๆ โดยคาดว่าความต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่นี้จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมที่พักทั่วโลก ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
และนักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่สามารถเดินทางไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นสามเท่า ภายในปี
2576 และในขณะที่ผู้ประกอบการโรงแรมเตรียมพร้อมในการเปิดรับโอกาสที่เกิดขึ้น
ไม่เพียงปริมาณเช็คอินที่จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขาควรเตรียมรับมือกับพฤติกรรมและความต้องการของนักเดินทางจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมให้ดีขึ้นเช่นกัน
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมรายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder ได้ที่นี่
No comments:
Post a Comment